Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home เรียนรู้จากหนังสือเด็ก

เรียนรู้จากหนังสือเด็ก

เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์

นับแต่สมาคมไทสร้างสรรค์ ได้ทำการคัดเลือกหนังสือดีเพื่อใช้ในโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย นกระทั่งได้รวบรวมรายชื่อพร้อมบรรณานุกรมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ในชื่อ หนังสือดีหนังสือเด็กออกเผยแพร่ และได้รับการยอมรับให้เป็นหนังสือคู่มือการเลือกหนังสือเพื่อมาใช้ในห้องสมุด ในหน่วยงานหรือโรงเรียนหลายสังกัดนั้น  เด็กไท ขอถือโอกาสนี้ ต่อยอดความรู้และความคิดที่มีต่อหนังสือดีที่โครงการเลือกใช้ เพื่อเผยแพร่แก่ผู้อ่านกันอีกครั้ง

ต้ัวเลขทำอะไร เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในจำนวนเกือบร้อยที่ได้รับการคัดสรรเพื่อใช้พัฒนาเด็ก ปฐมวัย ตั้งแต่ปีแรกของการดำเนินโครงการ จวบจนเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ถูกใช้กับเด็กๆในศูนย์ฯรุ่นแล้ว รุ่นเล่า

ผู้ใหญ่หลายคน เมื่อเห็นหนังสือเล่มนี้อาจจะเมินหน้า เพราะเชื่อว่า เด็กๆรู้จักเลข ๑ ถึง ๑๐ กันดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือภาพมาสอนกันอีก แต่ในความจริง ตัวเลขทำอะไร มีเรื่องราวให้เด็กได้เรียนรู้มากกว่าที่เราคิด ไม่เชื่อมาดูกัน


การใช้หนังสือเรื่อง ตัวเลขทำอะไร ใช้ได้ตั้งแต่หน้าปก ลองถามเด็กๆว่าวงกลมๆแบบนี้เป็นอะไรได้บ้าง เราจะได้คำตอบจากเด็กๆเช่น ลูกบอล ห่วงยาง พระอาทิตย์ เลขศูนย์ แหวน โดนัท นาฬิกา จาน พัดลม....ฯลฯ ตอบอะไรมาก็ไม่มีผิด เพราะกิจกรรมนี้ไม่ใช่ไม่ใช่การตอบคำถาม แต่เป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กได้คิดแบบมิติสัมพันธ์ขึ้นมาได้

บางครั้งเราอาจจะใช้เพียงแค่หน้าปกของหนังสือจากนั้น ครูก็สามารถทำวงกลมหนึ่งวงเพื่อให้เด็กต่อเติมภาพหรือให้เด็กวาดสิ่งของทรง กลม หรือพาเด็กๆสังเกตดูสิ่งต่างๆรอบตัวที่เป็นรูปทรงกลม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเรียนรู้อีกมากมายที่คุณครูหรือผู้ใหญ่จะส่งเสริม ให้เด็กๆคิด และเล่น(นี่เป็นเพียงแค่ปกหน้าเท่านั้น)

ผ่านปกหน้ามาแล้ว คราวนี้มาดูกันที่ปกรอง เป็นรูปบ้านหลายห้องหลายชั้น ที่หน้าต่างของแต่ละบ้านมีตัวเลขอยู่ ขาดแต่เลข ๑ เท่านั้น เมื่อถามเด็กๆว่า “เอ๊ะ เลข ๑ หายไปไหน เลข ๑ ไปทำอะไรน่ะ” แล้ว เปิดหนังสือหน้าต่อไป เด็กๆเห็นภาพตัวเลข ๑ ขี่มด และตัวอักษรก็เขียนว่า ๑ ขี่มด เด็กๆเล็กๆทุกคนที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกแต่สามารถอ่านภาพได้และบอกว่า เลข ๑ ขี่มด ซึ่งตรงนี้นี่เองที่เด็กๆจะได้สนุกกับการเรียนรู้ภาษาจากการอ่านภาพ แม้ประโยคว่า ๑ ขี่มด ก็เป็นภาพหนึ่งบนสายตาของเด็กๆ ต่อมาคือเลข ๒ รดน้ำต้นไม้ ๓ หวีผม ๔ ดมดอกไม้ ๕ ขับเครื่องบิน ๖ กินข้าว ๗ เป่าปี่ ๘ ตีกลอง ๙ นอนหลับ ๑๐ จับปลา

วิธีการใช้หนังสือเล่มนี้ ผู้ใหญ่เพียงถามว่า เลข ๒ ทำอะไร...เลข ๓ ทำอะไร...เลข ๔ ทำอะไร... เท่านั้น เราจะพบว่าเด็กๆนั้นสามารถอ่านภาพก่อนจะตอบได้อย่างถูกต้อง และสนุกสนานจากการอ่านภาพที่แสดงกริยาท่าทางให้เห็นอย่างชัดเจน รวมกับบรรดาตัวเลขมีชีวิตชีวา เพียงแค่เด็กๆได้เห็นภาพที่มีหน้ามีตา มีแขนมีขา และสวมใส่เสื้อผ้าเหมือนคน เท่านี้พวกเขาก็จะจดจำตัวเลขที่เห็นในหนังสือได้ตลอดไป เพราะความรู้สึกประหลาดใจและประทับใจนั่นเอง

นอกจากเด็กจะได้รู้จักและจดจำตัวเลข ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ได้แล้ว พวกเขายังจะสามารถเข้าฝจจำนวนซึ่งถือเป็นเป้าหมายของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อีกด้วย เพราะในแต่ละหน้าที่ตัวเลขแต่ละตัวปรากฏนั้น มีสิ่งของที่เป็นจำนวนเกี่ยวข้องกับตัวเลขนั้นๆ

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ศิลปะสำหรับเด็กเล็ก หากเป็นเด็กโตขึ้นมา เราก็สามารถคั้งโจทย์ยากขึ้นอีกได้ด้วยการกระตุ้นส่งเสริมการเรียนเรื่อง ภาษา

เราจะเห็นว่า ตัวเลขแต่ละคู่จะใช้สัมผัสกัน เช่น ๑ ขี่มด ๒ รดน้ำต้นไม้ ๓ หวีผม ๔ ดมดอกไม้...สำหรับเด็กประถม

หนังสือ ตัวเลขทำอะไร จะกลายเป็นหนังสือที่น่า สนุกขึ้นมาทันที หากเราผู้ใหญ่ตั้งโจทย์ที่ท้าทายแก่เด็ก เช่น ถ้า ๑ ว่ายน้ำ ๒ จะต้องทำอะไรเพื่อให้มีความหมายและสัมผัสกับคำว่าน้ำ แล้วจึงจะต่อเลข ๓ ๔ ๕ ๖....ไปเรื่อย

Home
การอ่าน
การพัฒนาคน
การได้อ่านหนังสือดีๆสักเล่ม ก็สามารถเปลี่ยนชีวิตของคนได้
โทรทัศน์กอดหนูไม่ได้!
ทำไมต้องเล่น
พัฒนาภาษาด้วยหนังสือภาพ
เส้นทางแห่งการอ่าน
ประสบการณ์การใช้หนังสือกับเด็ก
ปาฐกถาโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
เรียนรู้จากหนังสือเด็ก
ภูเขาสองลูก
การพัฒนาเด็กด้วยการอ่าน
วิธีส่งเสริมลูกรักให้เป็นนักอ่าน
เรียนรู้ด้วยหัวใจ มิใช่แค่สมอง
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
หนังสือภาพสำหรับเด็กวัย ๒-๓ ขวบ
หนังสือเด็ก สร้างคน สร้างโลก
หนังสือที่ต้องอ่านให้เด็กๆฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
หนังสืออาจไม่ใช้อ่าน แท่งไม้อาจไม่ใช้เรียง
หนังสือภาพสำหรับเด็กในบ้านเรา
อ่านหนังสือ ..รากฐานความอบอุ่น ให้หนูโตเป็นคนดี
อีเล้งเค้งโค้งไป Stockholm
หนังสือสำหรับเด็กของคนไทย
พลังของการอ่านให้ฟัง
หนังสือสำหรับเด็ก
อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
๑๐ นาที อ่านหนังสือดีให้เด็กฟัง
อ่านเล่มเดิมให้ฟังซ้ำๆ
ปิดทีวีเลี้ยงลูก