Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home บ้านใบไม้

บ้านใบไม้

บ้านใบไม้
เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์ (สงวนลิขสิทธิ์)
บ้านใบไม้

บ้านใบไม้

เป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กที่แฝงเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ เป็นเรื่องของเด็กหญิงเล็กๆ

Untitled8.jpgชื่อ ซาจิ ออกไปเล่น อยู่ใต้พุ่มไม้นอกบ้าน และ เธอก็เรียกมันว่า“บ้านใบไม้ของซาจิ”

ท่ีบ้านใบไม้ของซาจินี้เองที่เด็กๆจะได้พบเห็นแมลงตัวเล็กๆที่มาขอหลบฝนใต้บ้านใบไม้ของซาจิ ด้วย ภาพวาดสีนวลตา ถ้าไม่ทันได้สังเกตแล้วละก็จะไม่ได้ เห็นหนอนตัวเล็กๆเรียวๆที่ซ่อนตัวกลมกลืนอยู่กับกิ่งไม้ เช่นเดียวกับเจ้าเขียดน้อยที่มันก็ไม่ทันสังเกตเห็นหนอน น้อย อาหารโปรดของมันเช่นกัน

ผู้แต่งเรื่องและวาดภาพหนังสือเล่มนี้ เข้าใจถึง จิตใจของเด็กเล็กๆเป็นอย่างดี เช่น การที่ซาจิพูดคนเดียว หรือพูดคุยกับบรรดาเพื่อนๆแมลงท่ีอยู่รอบตัวซึ่งเป็นสิ่งท่ีพวกเราผู้ใหญ่บางคนอาจจะทึกทักเอาเองว่า เด็กๆที่พูดอยู่คนเดียวนั้นมีอาการน่าเป็นห่วง แต่ในความจริงแล้วพวกเขากําลังพูดคุยอยู่กับเพื่อนในธรรมชาติที่ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะมองไม่เห็น

บ้านใบไม้ เป็นหนังสือภาพสําหรับเด็กที่นั่งเรียบและสงบ การอ่านหนังสือเล่มนี้ให้เด็กๆฟังไม่จำเป็นต้องใช้ลีลาท่าทางมากนัก เหมาะสำหรับเด็กกลุ่มเล็กๆนั่งฟังอย่างสงบ เปิดภาพให้ดูช้าๆ บางคร้ังคุณครูอาจจะชี้ชวน ให้เด็กๆช่วยกันมองหาแมลงตัวเล็กๆ ในภาพด้วย

คุณครูสามารถใช้หนังสือ บ้านใบไม้ เป็นเครื่องมือก่อนนําเด็กๆเข้าสู่กิจกรรมกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ของเด็ก ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส ผิวกาย สัมผัสและหัวใจรู้สึก ซึ่งไม่เพียงแต่บ้านใบไม้เล่มเดียวเท่าน้ัน ยังมีหนังสืออีกมากที่คุณครูสามารถนํามาใช้ได้


การให้เด็กๆได้ฝึกฝนการใช้ประสาทสัมผัสบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กๆไม่ละเลยต่อสิ่งเล็กๆน้อยๆเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกตและชอบเรียนรู้ จริง อยู่แม้ว่าเราไม่ได้ฝึกฝนพวก เด็กๆ เขาก็ยอมรับรู้จากประสาทสัมผัสได้อยู่ดีแต่นั้นเป็นการรับสัมผัส โดยอัตโนมัติ เป็นการรับรู็และผ่านเลยคือไม่คิดต่อ ไม่สงสัย ไม่สังเกต ไม่อยากรู้จักไม่อยากเรียนรู้ ฉะนั้นเรามาฝึกเด็กๆของเราให้เป็นเด็กที่ชอบสังเกต ชอบเรียนรู้ ชอบสงสัย ชอบคิดผ่านการฝึกการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส อย่างรู้ตัวกันดีกว่า

Untitled11.jpg

จากเนื้อความด้านซ้ายนี้ คุณครูสามารถนําเด็กเปิดประสาทสัมผัสผิวกายได้ ด้วยการนําน้ำมาหยดลงบนมือบนขา ให้เด็กๆแยกว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อน้ำแต่ละหยดลงมือ และขา แต่ละครั้งอุ่น ร้อน หรือเย็น โดยคณุครูใช้น้ำทั้งอุ่น ร้อนและเย็นสลับกันไป เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปด้วย และคุณครูจะต้องพูดคุยกับเด็กๆและให้เด็กได้ทดลองทำ ได้ซักถามได้ตอบคําถาม กันอย่างสนุกสนานไปด้วย

 

ตัวอย่างกิจกรรมฝึกประสาทสัมผัส ตาดู และ หูฟัง

ใต้บ้านใบไม้ของซาจิ มีสัตว์และแมลงเล็กอยู่รวมกันถึง ๗ ชนิด ก่อนอื่นคุณครูต้องหาให้พบเสียก่อน แล้วจึงชี้ชวนกึ่งท้าทายให้ เด็กๆช่วยกันมองหา

เมื่อเด็กได้ฝึกสายตาแล้ว ควรพาเด็กๆออกนอก ห้องเรียน เพราะการออกนอกห้องเรียนเป็นกิจกรรมที่ถูกใจ ที่สุดพาเด็กๆไปมองหาแมลงที่อยู่บนต้นไม้ หรือสังเกตมดเดิน อยู่บนพื้นดิน บนต้นไม้

Untitled9.jpgจากนั้นให้เด็กๆเงียบเสียงที่สุดเท่าที่จะเงียบได้ แล้วลองให้หูฟังว่าได้ยินเสียงอะไรบ้างเด็กบางคนอาจจะได้ยินนเสียงนก เสียงรถ เสียงคน เสียงเพลง เสียงกวาดพื้น ฯลฯ แล้ว แต่ว่าพวกเขาจะได้ยิน อะไร กิจกรรมน้ีไม่มีการตัดสินในเรื่องความถูก ผิด แต่เพื่อฝึกให้เด็กๆได้ใช้ประสาทใน การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเด็กๆได้ฝึกฝนบ่อยๆ เขาก็จะไม่ละเลยการที่จะตั้งใจดู หรือต้ังใจฟัง

สําหรับเรื่องบ้านใบไม้ ขอให้คณุครูได้คิดกิจกรรม ต่อทั้งกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ และฝึกการใช้ประสาทสัมผัส โปรดอย่าลืมว่าหนังสือหนึ่งเล่มใช้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี