Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home การใช้หนังสือภาพกับเด็ก

การใช้หนังสือภาพกับเด็ก

เขียนโดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช กรรมการสมาคมไทสร้างสรรค์ (สงวนลิขสิทธิ์)
การใช้หนังสือภาพกับเด็ก

การใช้หนังสือภาพกับเด็ก

lead2.jpgหนังสือภาพเป็นหนังสือที่เหมาะที่สุดสําหรับเด็กเล็กๆ และเป็นหนังสือที่ผู้ใหญ่ต้องอ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กอ่านหรือดูเองตามลําพัง เพราะเด็กเล็กๆยังอ่านหนังสือไม่ออก จึงต้องการผู้ใหญ่คอยอ่านเรื่องให้ฟัง แล้วเด็กๆจึงได้ดูภาพตามไปอย่างสนุกสนาน หนังสือภาพสําาหรับเด็ก เป็นหนังสือเล่มแรกๆของเด็กเล็ก เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รักการเรียนรู้ เพื่อมอบประสบการณ์แก่เด็ก และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

เมื่อผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่บ้าน หรือคุณครูที่โรงเรียน อ่านหนังสือภาพให้เด็กฟัง เด็กๆจะไม่เพียงแต่ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลินเท่านั้น แต่พวกเขากําลังได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรู้ ผ่านการฟังหนังสือภาพ

หนังสือภาพสําหรับเด็กมีไว้เพื่ออ่านให้เด็กฟังสําหรับการอ่านหนังสือภาพให้ลูกหลานฟังคนเดียวหรือสองสามคน ในบ้าน คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะเด็กๆส่วนใหญ่ชอบที่จะมีคนหนังสือให้ฟังอยู่แล้ว และผู้ปกครองก็สามารถเลือกเวลา และสถานที่ได้ตามความสะดวก

แต่ในโรงเรียน หรือในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน้ัน มีความต่างกันตรงที่มีเด็กๆกลุ่มใหญ่ มีความสนใจที่หลากหลายและกระจัดกระจาย อีกทั้งยังมีสิ่งเร้ามากมายรอบตัว การใช้หนังสือกับเด็กกลุ่มใหญ่จึงต้องมีวิธีการบ้าง ความสนใจของเด็กๆ และเพื่อความสําเร็จและสร้างความมั่นใจให้แก่คุณครู

การใช้หนังสือภาพกับเด็ก มี 2 วิธีเท่านั้นคือ การอ่าน กับ การเล่าเรื่อง

คุณครูคิดว่า วิธีไหนง่ายกว่ากัน...บางคนบอกว่า “อ่าน” ขณะที่หลายคนบอกว่า “เล่าให้เด็กฟังนั้นง่ายกว่า” ทั้งนี้ทั้งนั้นcopy_of_11.jpgขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยและความถนัดของแต่ละคน เรามาดู ความแตกต่างระหว่าง การอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟัง กับการเล่าเรื่องจากหนังสือภาพให้เด็กฟัง

การอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟัง หมายถึงการอ่านหนังสือตามตัวอักษรที่มีอยู่ในแต่ละหน้า อ่านทั้งหมดทุกคำทุกประโยค สําหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับวิธีอาจจะส่ายหน้า ไม่ทราบว่ามันจะสนุกได้อย่างไร แน่ละ ถ้าคุณครูอ่านไปเรื่อยๆ ด้วยน้ำเสียงที่เนิบนาบในระดับเสียงด้วยกันหมดน้ัน คงไม่สนุกแน่สําหรับเด็กหรือแม้แต่ตัวคณุครูเอง การอ่านหนังสือภาพให้เด็กฟัง โดยเฉพาะเด็กเป็นกลุ่มใหญ่นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการบ้าง ที่พวกเรามักจะเรียกการอ่านแบบน้ีว่า “การอ่านหนังสืออย่างมีชีวิตชีวา”

การอ่านหนังสืออย่างมีชีวิตชีวานั้น ช่วยให้เรื่องราวน่าสนุกน่าสนใจ แต่ก็ไม่จําเป็นต้องใส่ชีวิตชีวาให้เนื้อเรื่องมากเกินไป เพราะมันจะกลายเป็นการอ่านอย่างขําขันไปเสีย

การอ่านหนังสือออกเสียงนั้นมีวิธีการอยู่ไม่มาก เช่น การเว้นวรรคสั้น−ยาว ออกเสียงสูง−ตํ่า ออกเสียงเน้นหนักหรือแผ่วเบา เท่านี้ก็จะช่วยให้การอ่านหนังสือให้เด็กฟังมีความน่าสนใจขึ้นมาทันทีโดยไม่จําเป็นต้องดัดเสียงเลยแม้แต่น้อย เราใช้เพียงเสียงหนัก เบา สูงหรือต่ำเท่านั้น เมื่อคุณครูอ่านหนังสือออกเสียงให้เด็กๆฟังบ่อยๆเข้า คุณครูก็จะมีจังหวะของ ตัวเอง เมื่อใดที่หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ก็จะอ่านอย่างมีจังหวะจะโคนและสนุกสนานมีชีวิตชีวาได้ทุกเรื่อง สิ่งสําคัญคือ ทําบ่อยๆ เท่านั้นเอง

การเล่าเรื่องจากภาพในหนังสือภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการใช้หนังสือกับเด็ก การเล่าเรื่องจากภาพ แม้ว่าจะมี หนังสืออยู่ในมือคุณครูก็ตาม คุณครูจะต้องเป็นนักเล่าเรื่อง นักบรรยายภาพที่สามารถสื่อสารอารมณ์และบรรยากาศของเรื่อง ออกมาให้ได้อย่างครบถ้วน

เมื่อคุณครูเลือกหนังสือภาพที่จะใช้เล่าให้เด็กๆ ฟังได้แล้ว สิ่งแรกที่ต้องทําาคือ คุณครูจะต้องอ่านหนังสือเรื่องนั้น พร้อมกับดูภาพอย่างละเอียด จับประเด็นสําาคัญให้ได้ คิดคําหรือภาษาเพื่อสื่อออกมาให้เด็กเข้าใจซึ่งตัวคุณครูเองจะต้องมี คําศัพท์สะสมอยู่มากมายพอที่จะเอาออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งที่เป็นภาษาในระดับปกติ ธรรมดาและภาษาน่าสนุกมีคําที่ออกเสียงแปลกๆ แต่สื่อถึงความหมาย จึงจะทําให้การเล่าเรื่องจากหนังสือภาพเป็นไปอย่างสนุกและติดอกติดใจสําหรับ เด็กๆ

การเล่าเรื่องจากภาพ มีข้อดีตรงที่คุณครูจะรู้สึกเป็นอิสระจากเนื้อเรื่อง โดยสามารถใส่อารมณ์ ความรู้สึกและภาษา ของตัวเองลงไปได้ ในขณะที่การอ่านหนังสือภาพมีข้อดีคือ คุณครูไม่ต้องสร้างคำ ใหม่และเด็กๆ ก็ได้เรียนรู้การอ่านตัวหนังสือ จากการได้ฟังคุณครูอ่านให้ฟังได้

010001.jpg

การอ่านตามตัวอักษรในหนังสือ

“วันหนึ่ง (เว้นสั้น ) แม่บอกว่า(เว้น) มี้จัง (เสียงหนัก) ไปซื้อของให้แม่ได้ไหมลูก (หยุด มองเด็กๆ คล้ายตั้งคําถาม) แม่อยากได้นมให้น้อง แต่ตอนนี้แม่กําลังยุ่ง ไปคนเดียวได้ไหม (มองเด็กผู้ฟังคล้ายตั้งใจถามยํ้า)”
“ได้ค่ะ (เสียงหนัก) ก็มี้จังอายุตั้ง (เว้น) 5 ขวบแล้วนะคะ”

เมื่อพิจารณาถึงข้อดี ความถนัดและความเหมาะสมแล้ว คุณครูสามารถเลือกใช้ได้ทั้งสองวิธี บางเล่มเหมาะสําหรับหรับออกเสียง บางเล่มเหมาะที่จะใช้เล่าให้เด็กๆ ฟัง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญกว่าน้ันก็คือ ตัวคุณครูผู้อ่านหรือเล่าจะต้องรู้สึก สนุกและมีความสุขขณะที่เล่าหรืออ่านหนังสือให้เด็กฟัง ตราบใดที่คุณครูสนุก เด็กก็จะสนุก หากคุณครูอ่านไปเล่าไปด้วย ความเหนื่อยหน่ายเอือมระอา คุณครูคิดว่าเด็กๆจะฟังด้วยความรู้สึกเช่นไร

ใช่แล้วเด็กๆก็จะเบื่อเช่นกัน