Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home อาหารกับเด็ก อาหารกับเด็ก

อาหารกับเด็ก

อาหารสำคัญอย่างไรกับเด็ก

“กินเพื่ออยู่ หรืออยู่เพื่อกิน?” คำถามสั้นๆ แต่ฉุกใจให้ยั้งคิดเกี่ยวกับเรื่องการกินอยู่ของคนเรานัก เพราะหากลองสำรวจะพฤติกรรมการกินในแต่ละวันดู อาจจะพบคำตอบว่าแท้จริงแล้วที่เราบริโภคอาหารกันอยู่ทุกวัน  เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย เพื่อการมีชีวิตอยู่ หรือเป็นไปเพื่อสนองความอยาก (ที่กลายเป็นความเคยชิน) กันแน่ โดยเฉพาะกับสังคมปัจจุบันที่มากมายไปด้วยอาหารนานาชนิดสีสันหน้าตาชวนเชิญให้ล้ิมลองนัก หากใช้คำถามเดียวกันนี้กับเด็กๆ คำตอบที่ได้อาจเป็น “หนูกินเพื่อจะได้โต” ซึ่งเด็กจะโต(สมใจ)ได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่ คนตัวใหญ่จะเป็นผู้นำทางการเติบโตที่สำคัญ และยังจะเป็นผู้ปูทางให้เด็กได้เรียนรู้ว่าหนูควรจะกินอย่างไร

ตามใจปากหรือตามใจ(เพื่อ)หนูการเจริญเติบโตของเด็กๆ เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์เลยทีเดียว เพราะอาหารการกินของผู้เป็นแม่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเกิดขึ้นของชีวิตน้อยๆ สารอาหารประเภทต่างๆ ส่งผลต่อการพัฒนาอวัยวะและระบบต่างๆ ของทารก ถ้าแม่ได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ก็มีโอกาสแท้งลูกได้ง่าย หรือแม่บางคนกินอาหารที่เน้นแป้ง ไขมัน ไม่นิยมอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่และเนื้อสัตว์ ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านสมองเด็ก

ดร.Elise  Eliot  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา แห่ง Chicago Medical School สหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า โอกาสทองของการส่งเสริมโภชนาการให้สมองเติบโตเริ่มตั้งแต่ไตรมาส ๒ ของทารกในครรภ์ (เดือนที่ ๕) ต่อเนื่องจนอายุ ๒ ปีโภชนาการเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการสมอง นอกเหนือจากธรรมชาติและการเลี้ยงดู ซึ่งโภชนาการมีผลต่อการสร้างเนื้อเยื้อสมองและป้องกันความพิการของสมอง หากช่วงเวลาดังกล่าวเด็กขาดอาหารจะส่งผลต่อระดับสติปัญญา การเรียนรู้จะต่ำและมีปัญหาพฤติกรรมมากกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติเช่นนั้นแล้วคนเป็นแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องยั้ง การกินตามใจปาก แต่ต้แงคิดไปถึงชีวิตน้อยๆ ที่อยู่ในท้อง และกำลังจะออกมาเผชิญกับโลกภายนอกในเร็ววันด้วย    หากย้อนไปสัก ๒๐ ปี ปัญหาเรื่องการขาดสารอาหารในเด็กเป็นโจทย์สำคัญที่ทั่วโลกร่วมกันแก้ไข คงพอจำกันได้กับเพลง We are the world ที่เหล่าศิลปินนักร้องก้องโลกต่างร่วมกันรณรงค์ เพื่อช่วยเหลือด้านอาหารให้กับเด็กเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยที่เราคุ้นกับโครงการ “แด่น้องผู้หิวโหย”LiseEliot1.jpg

แม้ปัจจุบันสถานการณ์การขาดสารอาหารจะได้รับการ แก้ไขและใส่ใจมากขึ้นแต่ก็ยังคงมีเด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอขณะเดียวกัน นับวันก็มีเด็กได้รับมากเกินความจำเป็นเพิ่มขึ้น

“เด็กที่ไม่อิ่ม คือ เด็กที่ได้กินกาหารไม่พอเพียง หรืไม่มีจะกิน ตัวผอมแห้ง กล้ามเนื้อลีบ เซื่องซึมเงื่องหงอย หรือตัวแคระแกรน ไม่เติบโตสมกับอายุ ตัวเล็กไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อยๆ หงุดหงิดงอแง เวลาเจ็บไขก็เป็นง่ายายยาก ตายง่าย และถึงไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต ส่วนเด็กที่ไม่ได้อิ่มอย่างมีคุณภาพ เป็นพวกกินไม่เป็นกินอาหารไม่มีประโยชน์ ตามใจปากและรสชาติความอร่อย หรือกินตามแฟชั่น พวกนี้มักกินอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และมีน้ำหนักตัวมาก ไม่ว่องไว คล่องแคล่วเท่าที่ควร มีผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมทางร่างกายและความสามารถในการเรียนรู้”

ทั้งเด็กกินไม่อิ่มและเด็กที่กินเกินจึงมีโอกาสที่ จะเป็นโรคขาดสารอาหารได้ เพราะกินไม่อิ่ม จึงได้สารอาหารไม่ครบขณะที่กินอิ่ม แต่สารอาหารที่ได้มากเกินความจำเป็นและกับขาดในส่วนที่ร่างกายต้องการ

การขาดอาหารส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมอง โดยเฉพาะเด็กอายุตำ่กว่า ๕ ปีที่มีการขาดอาหารแบบเรื้อรัง จะมีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็ก และจากการศึกษาพัฒนาการ และเชาว์ปัญญาของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น คือ เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี, อายุ ๓-๕ ปี, อายุ ๖-๑๓ ปี และอายุ ๑๓-๑๘ ปี มีค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาเท่ากับ ๑๐๐.๕ (-๑๔.๓), ๙๑.๑ (-๒๒.๗), ๘๘.๐ (-๑๒.๖) และ ๘๖.๗ (-๑๓.๙) ตามลำดับ

การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่ คือคำตอบที่ได้ยินเสมอสำหรับเรื่องการดูแลสุขภาพ เพียงแต่สัดส่วนในแต่ละหมู่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กจนถึงวัยเรียน การได้รับสารอาหารครบทั้ง ๕ หมู่ ในสัดส่วนที่เพียงพอจะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ แต่จากข้อมูลด้านโภชนาการของคนไทยพบว่า เด็กยังขาดสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีน พลังงาน ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และวิตามินเอ

การขาดโปรตีนและพลังงาน จะมีผลให้ร่างกายเตี้ย แคระแกร็น ผอม สติปัญญาตำ่ การเรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ และส่งผลต่อเนื่องเมื่อเป็นผู้ใหญ่ โดยมีโอกาสที่จะเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแม้ยังไม่ถึงขั้นเกิดอาการซีด โลหิตจางก็มีผลทำให้สติปัญญาการเรียนรู้ด้อยกว่าปกติ และถ้าเป็นในทารกแล้วละก็ ความผิดปกติทางสมองการเรียนรู้ถาวรจะกลับคืนดีไม่ได้  โรคคอพอกและปัญญาอ่อนจากการขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะควบคุมและกระตุ้นให้อวัยวะต่างๆ รวมทั้งพัฒนาการของร่างกายเกิดการเจริญเติบโตโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท  โรคขาดวิตามินเอ จะแสดงอาการทางตา ตั้งแต่ตาบอดแสงจนถึงขั้นตาบอด และแม้จะไม่มีอาการทางตาก็มีผลต่อการลดภูมิต้านทานโรค จะเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น โรคทางเดินหายใจ หวัด หลอดลมอักเสบ ฯลฯ

การดูแลเรื่องอาหารการกินสำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งที่ ควรตะหนักยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการพัฒนาด้านต่างๆ ของร่างกาย การส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารครบทั้ง ๕ หมู่ เท่ากับได้สร้างชีวิตน้อยๆ ให้เติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพให้กับสังคม  ก่อนเตรียมอาหารมื้อหลักให้เด็กทานลองทบทวนสักนิด ว่ามีแป้งมีไขมันมากไปมั้ย ใส่ผักใบเขียวแล้วหรือยัง เนื้อสัตว์มีหรือไม่ ผลไม้ตบท้ายสักนิด ส่วนชูรสวางห่างๆ จะดีกว่า เพราะชูรสหรือจะดีเท่าฝีมือปรุงด้วยใจของพ่อแม่ หรือของคุณครูเองฝึกให้เด็กกินครบทุกหมวดหมู่ กินอย่างพออิ่มแล้วจะได้สนุกกับชีวิตอย่างมีความสุข