Skip to content. | Skip to navigation

Personal tools
Log in
This Logo Viewlet registered to qPloneSkinBusiness4 product
You are here: Home พัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการส่งเสริมการอ่าน

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการส่งเสริมการอ่าน

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการส่งเสริมการอ่าน ในการส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน จากประสบการณ์การทำงานของสมาคมไทสร้างสรรค​์

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t)

สิ่งที่ควรทำ (Dos)

๑. อ่านหนังสือให้เด็กฟังหน้าเสาธง หรือให้เด็กอ่านหนังสือหน้าเสาธง

๑. อ่านหนังสือให้เด็กฟังในห้องสมุดหรือในชั้นเรียนเป็นประจำสม่ำเสมอ

๒. ทำให้การอ่านเป็นงาน เป็นภาระสำหรับเด็กๆ (เช่นให้เด็กเขียนบันทึกการในรูปแบบวิชาการ) เพราะจะทำให้เด็กเกิดทัศนคติทางลบต่อการอ่าน

๒. ให้รางวัลเด็กๆทุกคนที่สนใจหนังสือ

  • ให้ดาว ให้คำชม ให้ใบประกาศเกียรติคุณ ให้โล่ ฯลฯ
  • จัดบอร์ดขึ้นชื่อนักอ่าน ประจำเดือน ประจำภาคเรียน ประจำปีการศึกษา

๓. เปิดห้องสมุดในเวลาที่เด็กๆไม่ว่าง

๓. เปิดห้องสมุดเวลาที่เด็กๆว่าง  เช่น หลังเลิกเรียน

๔. ไม่ประกวดแข่งขันหาผู้ชนะจากการอ่าน เพราะจะมีผู้ชนะเพียงไม่กี่คน แต่เกือบทั้งหมดเป็นคนแพ้

๔.แนะนำหนังสือ แนะนำผู้แต่ง

  • แนะนำหนังสือดีที่น่าอ่าน
  • แนะนำหนังสือดีที่มีคนอ่านมากที่สุด
  • หนังสือดีที่ไม่มีคนอ่าน ฯลฯ

ทำได้ทั้งการจัดบอร์ด พูดคุย หรือแนะนำในชั้นเรียน

๕. เอาหนังสือทุกอย่างไปไว้ในห้องสมุด

๕. ให้ทุกคนมีโอกาสประสบความสำเร็จในการอ่านตามความสามารถและความสนใจของตนเอง

๖. ใช้ห้องสมุดเพื่อกิจกรรมของครู (ประชุม รับแขก เก็บของ เป็นที่พักนักกีฬา ฯลฯ)

๖. คัดแยกหนังสือเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน

  • หนังสือวิชาการของครู
  • ตำราเรียน/วิชาการ
  • หนังสือเพื่อการอ่านและเรียนรู้ที่เด็กๆชอบ

๗. มีระเบียบการใช้ห้องสมุดที่เคร่งครัด เช่นห้ามส่งเสียงดังเด็ดขาด!  ห้าม .. ห้าม.. ห้าม ..

๗. ทำห้องสมุดให้เป็นพื้นที่ของเด็กๆ ให้ความสำคัญแก่เด็กๆก่อนผู้ใหญ่

๘. จัดระบบคัดแยกหนังสืออย่างเคร่งครัด ตามระเบียบวิธีของห้องสมุดขนาดใหญ่

๘. กำหนดระเบียบการใช้ห้องสมุดให้เหมาะสมกับจริตของเด็ก โดยใช้หลักคิดว่า ทำอย่างไรเด็กๆจึงจะอยากเข้าห้องสมุด แต่สามารถควบคุมพฤติเด็กเฮี้ยวได้

๙. เอาของเล่นไว้ในห้องสมุด

๙. แยกหนังสือเพื่อการอ่านและการเรียนรู้ที่เด็กๆของออกมาจากระบบคัดแยก แล้วจัดระบบหนังสืออย่างง่ายๆที่เด็กสามารถใช้ได้สะดวก

๑๐. เอาโทรทัศน์ไปไว้ในห้องสมุด

๑๐. สนับสนุนให้เด็กๆฝึกเขียนเรียงความจากเรื่องที่ได้อ่าน และให้รางวัลตามสมควร

๑๑. เอาคอมพิวเตอร๋ไปไว้รวมกับหนังสือ

๑๑. จัดสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์แยกจากหนังสือ เพื่อป้องกันเด็กใช้เวลาเล่นคอมฯมากกว่าอ่านหนังสือ

๑๒. เลาะปก เปลี่ยนปกหนังสือ

๑๒.ทำห้องสมุดให้เป็นพื้นที่ๆสบายที่สุด น่าอยู่ที่สุด สะดวกที่สุด ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็กอนุบาล แล้วทุกๆคนก็จะอยากเข้าห้องสมุด

๑๓. ให้พี่อ่านหนังสือให้น้องฟังโดยไม่มีการจัดการ เช่นไม่กำหนดเล่ม ไม่ได้เตรียมตัว ไม่กำหนดเวลาที่แน่นอน

๑๓.ให้พี่อ่านหนังสือให้น้องฟัง

  • กำหนดเล่มให้ฝึกซ้อมอ่านก่อน
  • กำหนดเวลาอ่านให้แน่นอน
  • จำกัดจำนวนเล่ม

๑๔. รับหนังสือบริจาคเข้าห้องสมุดโดยไม่มีการคัดกรอง

๑๔. ทำรายการหนังสือที่ต้องการรับบริจาคเผยแพร่ หรือขอรับบริจาคตามรายการและราคา

๑๕. วางแผนสร้างห้องสมุดโดยไม่มีแผนงบประมาณจัดซื้อหนังสือ

๑๕.สะสมหนังสือดี หายาก หรือหนังสือที่คุณค่า ทางใดทางหนึ่ง

๑๖. เลือกซื้อหนังสือที่ครูชอบเป็นเกณฑ์ หรือซื้อหนังสือที่มีความรู้ทางวิชาการเป็นหลัก

๑๖. ซื้อหนังสือที่เด็กๆอยากอ่านตามวัย และหนังสือดีที่เด็กๆทุกคนควรใช้อ่าน หากไม่รู้จักหนังสือให้ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

๑๗. จัดกิจกรรม อ่าน เล่น เรียนรู้ จากหนังสืออย่างสม่ำเสมอ

๑๘. คัดหนังสือทุกเล่มที่ได้รับบริจาคก่อนนำเข้าห้องสมุด

๑๙. จัดงบประมาณซื้อหนังสืออย่างสม่ำเสมอ

๒๐.ทำความตกลงร่วมกับเด็กๆว่าจะต้องปฏิบัติตัวเช่นไร อาทิ หนูทานขนมที่ห้องสมุดได้แต่ต้องรับปากว่าจะไม่ทำพื้นเลอะ ฯลฯ

๒๑.จัดชั้นแนะนำหนังสือใหม่เป็นระยะสม่ำเสมอ

Add comment

You can add a comment by filling out the form below. Plain text formatting.

Info
Note: you are not logged in. You may optionally enter your username and password below. If you don't enter your username and password below, this comment will be posted as the 'Anonymous User'.
(Required)
(Required)
(Required)
Enter the word